วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทความวิจัย เรื่อง พฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาปริญญาตรี


พฤติกรรมการออกกําลังกายของนักศึกษาปริญญาตรี   
สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ 
The Exercise Behaviors of Undergraduate Students  
in Institutes of Physical Education, in South Campus Regions 

ศิวะ  พลนิล 
สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชุมพร 

บทคัดย่อ 
              การวิจัยนีเป็นการวิจัยเชิงสํารวจ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา และเปรียบเทียบพฤติกรรมการ
ออกกําลังกาย และปจจัยทีมีผลต่อพฤติกรรมการออกกําลังกายของนักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการ
พลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี จํานวน 400 คน เลือกกลุ่ม
ตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการ
หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี%ย ค่าเบี%ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) 
และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson product moment corr I elation coefficient)  
ผลการศึกษาพบว่า  
 1. นักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ มีพฤติกรรมการออกกําลัง-
กายอยู่ในระดับดี 
 2. นักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ ที%ศึกษาในคณะต่างกัน มี
พฤติกรรมการออกกําลังกายแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที%ระดับ .05 
 3. นักศึกษาที%มีเพศและสถานที%ศึกษาต่างกัน มีพฤติกรรมการออกกําลังกายแตกต่างกัน 
อย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติที%ระดับ .05 
 4. ความรู้เกี%ยวกับการออกกําลังกาย  การรับรู้ประโยชน์ของการออกกําลังกาย  การรับรู้
ภาวะสุขภาพ  การรับรู้ความสามารถแห่งตน  แรงสนับสนุนทางสังคม และการได้รับข้อมูลข่าวสาร มี
ความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกําลังกายของนักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา 
วิทยาเขตภาคใต้ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที%ระดับ .05
 5. การรับรู้อุปสรรคของการออกกําลังกาย มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการออกกําลัง
กายของนักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที%
ระดับ .05 2
Abstract 
 This survey research was conducted to study the exercise behaviors of 
undergraduate students in Institutes of Physical Education, in south campus regions. To 
compare and study the relationship between knowledge concerning exercise, perceived 
benefits, Perceived barriers, perceived health status, self-efficacy, social support and 
information support, with exercise behavior. The samples were 400 undergraduate students 
of Institutes of Physical Education obtained by accidental sampling. Questionnaires were 
used to collect data. Percentage, Standard deviation, t-test, F-test  and Pearson product 
moment correlation coefficient for data analysis. The results were as follows: 
 1. Undergraduate students in Institutes of Physical Education, in south campus 
regions had most level of exercise behaviors. 
 2. Undergraduate students with different faculty had significantly difference in 
exercise behaviors at .05 level. 
 3. Undergraduate students with different sex, and campus had no significantly 
difference in exercise behaviors at .05 level. 
 4. Knowledge concerning exercise, Perceived benefits, perceived health status, selfefficacy, social support and information support were positively associated with exercise 
behaviors of undergraduate students at .05 level.  
  5. Perceived barriers was negatively associated with exercise behaviors of 
Undergraduate Students at .05 level.

ภูมิหลัง 

ดังที่แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที% 3  (พ.ศ. 2545 – 2549)  กล่าวว่า การพัฒนาเป็น
ปจจัยสําคัญที่มุ่งพัฒนาคนให้มีคุณภาพ และศักยภาพทังทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติ 
ปญญา โดยมีกรอบวิสัยทัศน์ ทิศทางการพัฒนาที%สอดคล้องกั
กับการสร้างสุขภาพ คือ ประชาชนทุก
กลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ทุกพืนที่ได้ออกกําลังกาย และเล่นกีฬาเป็นประจํา อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เพือ
พัฒนาสุขภาพกาย และจิต และเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ และร่วมกันอยู่ในสังคมได้อย่างมี
ความสุข ซึ่งได้ตังเป้าหมายด้านการเล่นกีฬา ออกกําลังกายไว้คือ เด็กและเยาวชนร้อยละ 80  มี
ความรู้ ความเข้าใจ  มีเจตคติที่ดีต่อการออกกําลังกาย และเล่นกีฬา และมีทักษะกีฬาขันพืนฐาน 
รวมทังได้รับการพัฒนาให้มีคุณธรรม มีระเบียบวินัย และนําใจนักกีฬา  รวมทังประชาชนร้อยละ 60  
ได้ออกกําลังกาย หรือเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ มีสมรรถภาพทางกาย และเสริมสร้างมิตรภาพระหว่าง
ครอบครัว ชุมชน อย่างเหมาะสมและทั่วถึง  
 สุขภาพที่ดีเป็นสิ่งสําคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อการพัฒนาประเทศให้เจริญ 
ก้าวหน้า การพัฒนาคุณภาพประชากรในประเทศให้เป็นผู้มีคุณภาพ ประชากรจะต้องมีสุขภาพ3
สมบูรณ์แข็งแรงทังสุขภาพกายและสุขภาพจิต การออกกําลังกายเพื่อสุขภาพเป็นกลวิธีหนึ%งที%จะ
นําไปสู่การมีสุขภาพดี โดยที่พฤติกรรมการออก กําลังกายจะช่วยส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่ง
การออกกําลังกายแต่ละชนิดจะมีรูปแบบ กระบวนการและหลัก- เกณฑ์แตกต่างกันไป  แต่จาก
การศึกษาพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดการออกกําลังกาย ทังนีอาจเนื่องมาจากไม่มีเวลา สภาพ
ร่างกายไม่เหมาะสม หรือไม่มีสถานที่ออกกําลังกาย การที่ประชาชนไม่ออกกําลังกายนันจะส่งผลเสีย
ต่อสุขภาพตามมา (ชาตรี  ประชาพิพัฒน์; และ นฤพนธ์  วงศ์จตุรภัทร.  2545: 29)  และจากการ
สํารวจการออกกําลังกาย เล่นกีฬาของ ถนอมวงศ์  กฤษณ์เพ็ชร์ (2544: บทคัดย่อ)  เกี่ยวกับการออก
กําลังกายของประชากร พ.ศ. 2544 ปรากฏว่า ประชากรที%มีอายุ 6 ปีขึนไป ทั่วประเทศมีผู้ออกกําลัง
กายและเล่นกีฬาไม่สมํ%าเสมอประมาณ 
ร้อยละ 69.3  มีประชากรที%ออกกําลังกายและเล่นกีฬาเป็นประจําตังแต่ 3 ครังต่อสัปดาห์  มีร้อยละ 
25  เด็กและ เยาวชน มีการออกกําลังกายและเล่นกีฬาไม่สมํ%าเสมอ ร้อยละ 88.4  โดยในเด็กอายุ 12 
- 14 ปี เล่นกีฬาร้อยละ 93.3  และ ผู้ที%ไม่ออกกําลังกายและเล่นกีฬาร้อยละ 30.7  ส่วนสาเหตุที%ไม่
ออกกําลังกายและเล่นกีฬาที%สําคัญ มี 2 ประการ คือ ไม่มีเวลาร้อยละ 54.9  และไม่สนใจร้อยละ 12.8  
และพบว่าวัยทํางานที่มีอายุตังแต่ 20 - 59 ปี การไม่มีเวลาเป็นสาเหตุสําคัญที%สุดร้อยละ  60.6 - 66.8 
 การออกกําลังกายเป็นพฤติกรรมสุขภาพที%มีประโยชน์ เพราะการออกกําลังกายทําให้ระบบ
อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้รับการพัฒนา และเพิ%มประสิทธิภาพในการทํางานดีขึน เช่น ระบบ
โครงสร้างและกล้ามเนือ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบย่อยอาหาร ระบบ
ขับถ่าย อีกทังยังช่วยให้ความดันโลหิตและไขมัน 
ในเลือดลดลง อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทํางานได้ดีขึน ดังที่วุฒิพงษ์  ปรมัตถากร (2537: 5 - 6) ได้
กล่าวว่าประโยชน์ของการออกกําลังกายมีอยู่ด้วยกันหลายด้าน  ประโยชน์ที่มีผลต่อร่งกาย เช่น ผล
ต่อระบบหัวใจ  ผู้ที่ฝึก ซ้อมกีฬาระยะเวลานาน ๆ สามารถหายใจเข้าออกได้อย่างเต็มที่ อัตราการ
หายใจสภาวะปกติจะลดลง  ผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตทําให้มีปริมาณเลือดเพิ่มขึน  เมื่อออกกําลัง
กายเป็นประจําร่างกายต้องใช้เลือดรักษาระดับอุณหภูมิ  ปริมาณเลือดดําไหลกลับสู่หัวใจเพิ%มขึน  
เมื่อฟอกจากปอดทําให้ปริมาณเลือดแดงมีมากตามไปด้วย  จึงสามารถ เลียงกล้ามเนือได้เพียงพอ  
เมื%อปริมาณเลือดเพิ%ม เส้นเลือดจะขยายและหดตัวมากขึนทําให้การยืดหยุ่นดีขึนป้องกัน ไม่ให้เส้น
เลือดแข็งตัวหรือเปราะ  ความดันเลือดมีการเปลี%ยนแปลงเนื% องจากปริมาณเลือดเพิ%ม  ทําให้ความต้านทานในเลือดน้อยลงด้วย  หัวใจได้ทําการสูบฉีดเลือดดีขึน เป็นผลให้กล้ามเนือหัวใจแข็งแรงเป็นการป้องกันโรคหัวใจเสื%อมสมรรถภาพหรือหัวใจวายได้  นอกจากนีการออกกําลังกายและการเล่น
กีฬา ยังเป็นกิจกรรมที%สนุกสนาน ท้า-ทายความสามารถ และสร้างสุขภาพที%ดีให้กับทุกคน ทุกเพศทุกวัยล้วนต้องการออกกําลังกายเพราะการออกกําลังกาย นอกจากจะทําให้มีร่างกายที%สมบูรณ์แข็งแรง  มีสมรรถภาพทางกายและสุขภาพที%ดีแล้ว ยังทําให้มีรูปร่างที%สง่างาม จิตใจที%แจ่มใส อารมณ์ที่ดี มีสัมพันธภาพที%ดีต่อผู้อื%น มีไหวพริบและสติปญญาที%ดี มีสัมพันธ์ไมตรีที%ดีการออกกําลงกายและเล่น กีฬา ดังคําที%ว่า ออกกําลังกายดี สุขภาพดี  จิตใจแจ่มใสอยู่ในร่างกายที%แข็งแรง เมื%อร่างกายแข็งแรง ก็จะส่งผลให้จิตแจ่มใสเบิกบานไม่โมโหง่าย ไม่ใจร้อน มีความสุขุมรอบคอบ ยิมแย้มสดชื%นตลอดวัน 4และช่วยคลายเครียดได้เป็นอย่างดี  อีกทังยังเป็นการช่วยป้องกันการเสื%อมโทรมของสุขภาพ และยังเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  ไม่มั %วสุมกับยาเสพติด ที%เป็นปญหาสําคัญของประเทศชาติ ใน ปจจุบันการใช้กิจกรรมกีฬามีความ สําคัญต่อการออกกําลังก ั าย  เป็นปจจัยสําคัญต่อการพัฒนา ัสุขภาพร่างกายและจิตใจของบุคคล  อันจะนําไปสู่การพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าต่อไป ผู้วิจัยคิดว่า การออกกําลังกาย การเลือกรับประทานอาหารที%มีประโยชน์ จะทําให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ นอก จากจะเป็นผลดีต่อบุคคลนันแล้ว ยังเป็นหนทางหนึ%งที%จะช่วยให้ประเทศมีแรงงานที%มีคุณภาพ  ร่างกายสมบูรณ์พร้อมในการทํางาน  อันจะเป็นการช่วยเหลือภาครัฐประหยัดการใช้งบประมาณที%เกี%ยวข้องกับการดูแล รักษา ค่า- พยาบาล ซึ%งเป็นสิ%งที%ทุกคนควรหันมาให้

ความสําคัญ
เป็นอย่างมาก และการออกกําลังกายนันก็เป็นพฤติกรรมสุขภาพที%สําคัญมากอย่างหนึ%งที%จะช่วย 
ดํารงรักษาสุขภาพที%ดีไว้ให้นานที%สุด  ดังนันผู้วิจัยจึงสนใจที%จะศึกษาพฤติกรรมการออกกําลังกายของนักศึกษาปริญญาตรี  เพราะนักศึกษาเหล่านีนับว่าเป็นทรัพยากรที%มีคุณค่าในการพัฒนาประเทศ ชาติ แต่อย่างไรก็ตาม การที%จะเป็นทรัพยากรที%มีคุณภาพได้นันนอกเหนือจากความสามารถทางด้านวิชาการแล้ว นักศึกษาจําเป็นต้องมีสุขภาพร่างกายที%สมบูรณ์แข็งแรงด้วย ซึ%งการออกกําลังกายก็เป็นวิธีการส่งเสริมให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงวิธีหนึ%ง โดยผู้วิจัยได้นําแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (Pender.  1996: 67-73) มาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการกําหนดตัวแปรทีศึกษา ซึงผลทีได้จากการศึกษานีจะใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการออกกําลังกายแก่นักศึกษาปริญญาตรี 
สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ 
  
ความมุงหมายของการวิจัย 
 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกําลังกายของนักศึกษาปริญญาตรี  สถาบันการพลศึกษา 
วิทยาเขต ภาคใต้ 
 2. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการออกกําลังกายของนักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพล
ศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ จําแนกตามปจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ คณะที่ศึกษา และ สถานที่ศึกษา 
 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปจจัยด้านความรู้ความเข้าใจ และความรู้สึกเฉพาะต่อ 
พฤติกรรม ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการออกกําลังกาย  การรับรู้ประโยชน์ของการออกกําลังกาย  การ
รับรู้อุปสรรคของการออกกําลังกาย  การรับรู้ภาวะสุขภาพ  การรับรู้ความสามารถแห่งตน  แรง
สนับสนุนทางสังคม และการได้รับข้อมูลข่าวสารกับ พฤติกรรมการออกกําลังกายของนักศึกษา
ปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ 
  
ความสําคัญของการวิจัย 
 1. ทําให้ทราบพฤติกรรมการออกกําลังกายของนักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา 
วิทยาเขตภาคใต้ รวมทังปจจัยที่เกี่ยวข้อง 
2. เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมการออกกําลังกายของนักศึกษาปริญญา
ตรี สถาบัน การพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ 5
 3. นําผลงานวิจัยมาใช้เป็นแนวทางในการรณรงค์ให้นักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพล
ศึกษา วิทยาเขต ภาคใต้ มีความตื่นตัวในการออกกําลังกาย

สมมติฐานในการวิจัย 
 1. นักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ ที่มีเพศต่างกัน มีพฤติกรรม
การออก- กําลังกายแตกต่างกัน 
 2. นักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ที่มีคณะที่ศึกษาต่างกัน มี
พฤติกรรมการ-ออกกําลังกายแตกต่างกัน 
 3. นักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ ที่มีสถานที่ศึกษาต่างกัน         
มีพฤติกรรม การออกกําลังกายแตกต่างกัน 
 4. ความรู้เกี่ยวกับการออกกําลังกาย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกําลัง
กายของนักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ 
 5. การรับรู้ประโยชน์ของการออกกําลังกาย  มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออก
กําลังกายของ นักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ 
 6. การรับรู้อุปสรรคของการออกกําลังกาย  มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออก
กําลังกายของ นักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ 
 7. การรับรู้ภาวะสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกําลังกายของ
นักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ 
 8. การรับรู้ความสามารถแห่งตน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกําลังกาย
ของนักศึกษา ปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ 
 9. แรงสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกําลังกายของ
นักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ 
 10. การได้รับข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกําลังกายของ
นักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย 
ประชากรทีฃ่ใช้ในการวิจัยครังนีได้แก่ นักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขต
ภาคใต้ ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2553  จํานวน 3,252 คน 

 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครังนี  ได้แก่  นักศึกษาปริญญาตรี  สถาบันการพลศึกษา วิทยา
เขตภาคใต้ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จํานวน 400 คน ซึ่งได้มาจากการคํานวณหาขนาดของ
ตัวอย่างจากสูตรของยามาเน่ และใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) 6
  
ตัวแปรที่ศึกษา 
1.  ตัวแปรอิสระ ประกอบด้วย
  1.1  ปจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ คณะที%ศึกษา และสถานที%ศึกษา 
   1.2  ปจจัยด้านความรู้ความเข้าใจ และความรู้สึกเฉพาะต่อพฤติกรรม  ได้แก่ 
   1.2.1  ความรู้เกี่ยวกับการออกกําลังกาย  
   1.2.2  การรับรู้ประโยชน์ของการออกกําลังกาย   
   1.2.3  การรับรู้อุปสรรคของการออกกําลังกาย  
   1.2.4  การรับรู้ภาวะสุขภาพ  
   1.2.5  การรับรู้ความสามารถแห่งตน  
   1.2.6  แรงสนับสนุนทางสังคม  
   1.2.7  การได้รับข้อมูลข่าวสาร   
 2.  ตัวแปรตาม ได้แก่ พฤติกรรมการออกกําลังกายของนักศึกษาปริญญาตรี สถาบัน          
การพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ 
  
นิยามศัพท์เฉพาะ 
 1.  พฤติกรรมการออกกําลังกาย หมายถึง การที่นักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา 
วิทยาเขตภาคใต้ มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการออกกําลังกายเพื่อสุขภาพที่เหมาะสม ถูกหลักของการออก
กําลังกาย และเป็นประจําสม่ำาเสมอ  
 2.  ความรู้เกี่ยวกับการออกกําลังกาย หมายถึง ความสามารถในการอธิบาย และความเข้าใจ
ของนักศึกษาเกี่ยวกับข้อเท็จจริงและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการออกกําลังกาย 
 3.  การรับรู้ประโยชน์ของการออกกําลังกาย หมายถึง การคาดการณ์ล่วงหน้าของนักศึกษา
ถึงประโยชน์หรือผลที่เกิดขึนจากการปฏิบัติพฤติกรรมการออกกําลังกาย  
 4.  การรับรู้อุปสรรคของการออกกําลังกาย หมายถึง ความรู้สึก ความคิดเห็นของนักศึกษา   
ถึงสิ่งที่ขัดขวาง หรือความไม่สะดวกที่อาจเกิดขึนจากการปฏิบัติพฤติกรรมการออกกําลังกาย  
 5.  การรับรู้ภาวะสุขภาพ หมายถึง ความรู้สึก ความคิดเห็น หรือการแสดงออกทางความรู้สึก
นึกคิด และความเข้าใจของนักศึกษาที่มีต่อสถานะทางสุขภาพของตนเอง โดยประเมินจากสุขภาพ
โดยทั่วไปในภาพรวม 
6.  การรับรู้ความสามารถแห่งตน หมายถึง ความรู้สึก ความคิดเห็นของ
นักศึกษาในความสามารถหรือทักษะของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมการออกกําลังกาย
7.  แรงสนับสนุนทางสังคม หมายถึง การที่นักศึกษาได้รับความช่วยเหลือด้านข้อมูลวัตถุ 
สิ่งของ แรงงาน เวลา เงิน หรือการสนับสนุนด้านจิตใจจากผู้ให้การสนับสนุนให้มีการปฏิบัติ
พฤติกรรมการออกกําลังกาย7
 8.  การได้รับข้อมูลข่าวสาร หมายถึง การที่นักศึกษาได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับพฤติกรรม
การออกกําลังกาย จากบุคคล หรือผ่านทางสื่อต่างๆ โดยจะประเมินจากปริมาณความถี่ของข่าวสารที่
ได้รับ  
 9. วิทยาเขตภาคใต้ หมายถึง สถาบันการพลศึกษาที่อยู่ในเขตภาคใต้ ซึ่งมีอยู่ทังหมด   4   วิทยาเขต ได้แก่  วิทยาเขตกระบี่  วิทยาเขตชุมพร  วิทยาเขตตรัง  และวิทยาเขตยะลา 

เครื่องมือใช้ในการวิจัย 
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครังนีเป็นแบบทดสอบและแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึน แบ่งออกเป็น 9 ส่วน  ส่วนที่ 1  แบบสอบถามปจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ คณะที่ศึกษา สถานที่ศึกษา ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง และการมีโรคประจําตัว ลักษณะการออกกําลังกาย มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check list) และเติมข้อความในช่องว่าง  ส่วนที่ 2  แบบสอบถามพฤติกรรมการออกกําลังกาย เป็นคําถามให้เลือกตอบตามการปฏิบัติจริง ลักษณะข้อคําถามเป็นมาตรส่วนประมาณค่า (Rating scale) มี 3 ระดับคือ ปฏิบัติเป็นประจํา ปฏิบัติบางครัง และไม่ปฏิบัติ จํานวน 10 ข้อ  ส่วนที่3  แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการออกกําลังกาย ลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ (Multiple choices)  4 ตัวเลือก จํานวน 5 ข้อ  ส่วนที่ 4 แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการออกกําลังกาย  เป็นคําถามให้เลือกตอบตามความคิดเห็น ลักษณะข้อคําถามเป็นมาตรส่วนประมาณค่า (Rating scale) มี 5 ระดับคือ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง  จํานวน 7 ข้อ  ส่วนที่ 5  แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคของการออกกําลังกาย  เป็นคําถามให้เลือกตอบตามความคิดเห็น ลักษณะข้อคําถามเป็นมาตรส่วนประมาณค่า (Rating scale) มี 5 ระดับคือ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ ใจ ไม่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง  จํานวน 6 ข้อ ส่วนที่ 6  แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพ เป็นคําถามให้เลือกตอบตามความคิดเห็น ลักษณะข้อคําถามเป็นมาตรส่วนประมาณค่า (Rating scale) มี 5 ระดับคือเห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ ใจ ไม่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง  จํานวน 10 ข้อ ส่วนที่ 7  แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถแห่งตน เป็นคําถามให้เลือกตอบตามความคิดเห็น ลักษณะข้อคําถามเป็นมาตรส่วนประมาณค่า (Rating scale) มี 5 ระดับคือเห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ ใจ ไม่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง  จํานวน 5 ข้อ ส่วนที่8  แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม เป็นคําถามให้เลือกตอบตามความคิดเห็น ลักษณะข้อคําถามเป็นมาตรส่วนประมาณค่า (Rating scale) มี 5 ระดับคือเห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ ใจ ไม่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างยิ่าง  จํานวน 7 ข้อ 8 ส่วนที่9  แบบสอบถามการได้รับข้อมูลข่าวสาร เป็นคําถามให้เลือกตอบตามจริง ลักษณะข้อคําถามเป็นมาตรส่วนประมาณค่า (Rating scale) มี 3 ระดับคือ ได้รับเป็นประจํา ได้รับบางครัง และไม่เคยได้รับ จํานวน 3 ข้อ 

การเก็บรวบรวมข้อมูล 
 1. ผู้วิจัยดําเนินการคัดเลือกผู้ช่วยวิจัย จํานวน 4 คน จากนันทําการอบรมผู้ช่วยวิจัยเกี่ยวกับรายละเอียดของเครื่องมือวิจัย รวมทังเทคนิคการเก็บข้อมูล 
 2. ผู้วิจัยจัดแบ่งเครื่องมือวิจัยให้กับผู้ช่วยวิจัยไปดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษา
ปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ ทัง 4 วิทยาเขต 
 3. นําข้อมูลที่ได้มาทําการวิเคราะห์ 
การจัดกระทํา การวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 
 ในการศึกษาครังนี ผู้วิจัยนําข้อมูลที่ได้มาทําการวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
สําเร็จรูป กําหนดนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้ดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูลและนําเสนอผลการ
วิเคราะห์ตามลําดับ ดังต่อไปนี 
 1. ตรวจสอบความสมบูรณ์ และความเรียบร้อยของแบบสอบถามแต่ละฉบับ 
 2.  วิเคราะห์ข้อมูลปจจัยส่วนบุคคล ของนักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ ได้แก่ เพศ คณะที่ศึกษา สถานที่ศึกษา ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง และการมีโรคประจําตัว โดยการแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ   
 3.  วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการออกกําลังกายของนักศึกษาปริญญาตรี 
สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน    
  4.  วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจ และความรู้สึกเฉพาะต่อพฤติกรรม 
ของนักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการออกกําลัง
กาย  การรับรู้ประโยชน์ของการออกกําลังกาย  การรับรู้อุปสรรคของการออกกําลังกาย การรับรู้
ภาวะสุขภาพ การรับรู้ความสามารถแห่งตน แรงสนับสนุนทางสังคม และ การได้รับข้อมูลข่าวสาร  
โดยหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน   
 5.  เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการออกกําลังกายระหว่างกลุ่ม
ตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน โดยการทดสอบค่าที (t-test) เพื่อทดสอบสมมติฐานข้อ 1 และ 3 
 6.  เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการออกกําลังกายระหว่างกลุ่ม
ตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน โดยการทดสอบค่าเอฟ (F-test) แบบการวิเคราะห์ความ
แปรปรวนแบบทางเดียว (One-way analysis of variance) ในกรณีที่ผลการทดสอบมีความแตกต่าง
กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ จะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่
(Scheffe’s method) เพื่อทดสอบสมมติฐานข้อ 2 9
 7.  วิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson product moment  I
correlation coefficient) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง ปจจัยด้านความรู้ความเข้าใจ และความรู้สึกเฉพาะต่อพฤติกรรม ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการออกกําลังกาย การรับรู้ประโยชน์ของการออกกําลัง
กาย  การรับรู้อุปสรรคของการออกกําลังกาย การรับรู้ภาวะสุขภาพ การรับรู้ความสามารถแห่งตน 
แรงสนับสนุนทางสังคม และการได้รับข้อมูลข่าวสารกับพฤติกรรมการออกกําลังกายของนักศึกษา
ปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้  เพื่อทดสอบสมมติฐานข้อ 4 – 10  

สรุปผลการศึกษาค้นคว้า 
 1. นักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 65.00  ส่วนใหญ่นักศึกษาศึกษาในคณะศึกษาศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 50.00 รองลงมาได้แก่ วิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ คิดเป็นร้อยละ 30.00 และ คณะศิลปศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 20.00  ส่วนใหญ่ผู้ปกครองมีการศึกษาระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 39.50 และส่วนใหญ่นักศึกษาไม่มีโรคประจําตัว คิดเป็นร้อยละ 97.00
 2. นักศึกษาปริญญาตรี  สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ มีพฤติกรรมการออกกําลัง
กาย อยู่ในระดับดี  ส่วนใหญ่ออกกําลังกายบ้างแต่ไม่สมํ่าเสมอ คิดเป็นร้อยละ 50.25  ส่วนใหญ่ออก
กําลังกาย 5 วัน ต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 27.00 และส่วนใหญ่ใช้เวลา 30 นาที – 1 ชั่วโมง คิดเป็น
ร้อยละ 53.25 
 3. นักศึกษาปริญญาตรี  สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ มีความรู้เกี่ยวกับการออก
กําลังกาย อยู่ในระดับดี  มีการรับรู้ประโยชน์ของการออกกําลังกายอยู่ในระดับสูง  มีการรับรู้อุปสรรค
ของการออกกําลังกายอยู่ในระดับปานกลาง  มีการรับรู้ภาวะสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง  มีการรับรู้
ความสามารถแห่งตนอยู่ในระดับสูง มีแรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับสูง  และ มีการได้รับข้อมูล
ข่าวสารอยู่ในระดับสูง 
4. ผลการทดสอบสมมติฐาน 
     4.1 นักศึกษาปริญญาตรี  สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ ที่มีเพศต่างกัน มี
พฤติกรรมการ ออกกําลังกายแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 
 4.2 นักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ ที่มีคณะที่ศึกษาต่างกัน
มีพฤติกรรมการออกกําลังกายแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 
 4.3 นักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ ที่มีสถานที่ศึกษา
ต่างกันมีพฤติกรรมการออกกําลังกายไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 
 4.4 ความรู้เกี่ยวกับการออกกําลังกาย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออก
กําลังกายของ นักศึกษาปริญญาตรี  สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ อย่างมีนัยสําคัญทาง
สถิติที่ระดับ .05 10
 4.5 การรับรู้ประโยชน์ของการออกกําลังกาย  มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการ
ออกกําลังกายของนักศึกษาปริญญาตรี  สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ อย่างมีนัยสําคัญทาง
สถิติที่ระดับ .05 
 4.6 การรับรู้อุปสรรคของการออกกําลังกาย  มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการ
ออกกําลังกายของนักศึกษาปริญญาตรี  สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ อย่างมีนัยสําคัญทาง
สถิติที่ระดับ .05 
 4.7 การรับรู้ภาวะสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกําลังกายของ
นักศึกษา ปริญญาตรี  สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 
 4.8 การรับรู้ความสามารถแห่งตน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกําลัง
กายของนักศึกษาปริญญาตรี  สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่
ระดับ .05 
 4.9 แรงสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกําลังกายของ
นักศึกษา ปริญญาตรี  สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 
 4.10 การได้รับข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกําลังกายของ
นักศึกษา ปริญญาตรี  สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

อภิปรายผล 
 จากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการออกกําลังกายของนักศึกปริญญาตรี  สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ ทัง 4 วิทยาเขต (วิทยาเขตชุมพร วิทยาเขตกระบี่ วิทยาเขตตรัง และวิทยาเขตยะลา) มีข้อมูลทั่ว ๆ ไป ซึ่งมีผลการทดสอบสมมติฐานในการวิจัย ภายหลัง  การเปรียบเทียบพฤติกรรมการออกกําลังกาย ของ นักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา   วิทยาเขตภาคใต้ จําแนกตามปจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ คณะที่ศึกษา และ สถานที่ศึกษาพบว่านักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 65.00  ส่วนใหญ่นักศึกษา ศึกษาในคณะศึกษาศาสตร์ เป็นนักศึกษาที่เป็นนักกีฬาและส่วนใหญ่จบการศึกษาจากโรงเรียนกีฬา ซึ่งสถาบันการพลศึกษามีจุดมุ่งหมายที่จะผลิตครูพลศึกษาเน้นครูพลศึกษาที่มีความสามารถทางด้านกีฬา คิดเป็นร้อยละ 50.00 รองลงมาได้แก่คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ คิดเป็นร้อยละ 30.00 และ คณะศิลปศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 20.00  ส่วนใหญ่ผู้ปกครองมีการศึกษาระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 39.50 และส่วนใหญ่นักศึกษาไม่มีโรคประจําตัว คิดเป็นร้อยละ 97.00 เนื่องจากสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ มีนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นผู้ชายและเป็นนักกีฬา ซึ่งจบการศึกษาจากโรงเรียนกีฬาจึงทําให้นักศึกษาไม่มีโรคประจําตัว  ส่วนใหญ่นักศึกษา  ศึกษาในคณะศึกษาศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 50.00 โดยสถาบันการพลศึกษา มีจุดมุ่งหมายที่จะผลิตครูพลศึกษา เน้นทางด้านการกีฬา จึงทําให้มีจํานวนนักศึกษาส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ในคณะศึกษาศาสตร์ นักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ มีพฤติกรรมการออกกําลังกายอยู่ในระดับดี  ออกกําลังกายบ้างแต่ไม่สมํ่าเสมอ คิดเป็นร้อยละ 50.25 โดยออกกําลัง11กาย 5 วัน ต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 27.00 และส่วนใหญ่ใช้เวลา 30 นาที – 1 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 53.25  นักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ ที่ศึกษาในคณะที่ต่างกันมีพฤติกรรมการ ออกกําลังกายแตกต่างกัน เนื่องจากในสถาบันการพลศึกษามี 3 คณะ คือ คณะศึกษาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา ซึ่งทัง 3 สาขามีความเหมือนและแตกต่างกัน แต่คณะศึกษาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การกีฬา นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นนักกีฬาและเป็น
เพศชายซึ่งต่างจากคณะศิลปศาสตร์ นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และมีรายวิชาที่มีการเคลื่อนไหวน้อย มีกิจกรรมทางกาย กีฬาหรือการเรียนพลศึกษาน้อยกว่าทังสองคณะตามกาย-ภาพหรือความแตกต่างระหว่างคณะจึงทําให้ผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการออกกําลังกาย  ของนักศึกษา แต่ละคณะแตกต่างกันส่วนด้านสถานที่ที่ศึกษา แตกต่างกันมีพฤติกรรม การออกกําลังกาย มีพฤติกรรมการออกกําลังกายแตกต่างกันนัน อาจเกิดจากเหตุผลเกี่ยวกับความพร้อมของแต่ละสถาบัน เช่น งบประมาณ สนามกีฬา สถานที่ในการอํานวยความสะดวกในการออก กําลังกาย หรือสภาพภูมิอากาศ ความไม่สะดวกของพืนที่ในการออกกําลังกาย บุคลากรที่ให้ความแนะนําหรือให้ การดูแล มีความพร้อมและความเหมาะสมแตกต่างกันจึงทําให้นักศึกษามีพฤติกรรมการออกกําลังกายที่แตกต่างกัน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปจจัยด้านความรู้ความเข้าใจ  และความรู้สึกเฉพาะต่อ พฤติกรรม  ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการออกกําลังกาย การรับรู้ประโยชน์ของการออกกําลังกาย การรับรู้อุปสรรคของการออกกําลังกาย การรับรู้ภาวะสุขภาพ การรับรู้ความสามารถแห่งตน แรงสนับสนุนทางสังคม และการได้รับข้อมูลข่าวสารกับ พฤติกรรมการออกกําลังกายของนักศึกษา ปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้  พบว่า ด้านความรู้เกี่ยวกับการออกกําลังกาย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกําลังกายของ นักศึกษาปริญญาตรี สถาบัน การพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ ซึ่งการศึกษาสามารถให้คนมีความรู้ ความเข้าใจในเหตุผลและหลักการด้านต่างๆที่มีผลต่อการออกกําลังกาย  ทําให้ทราบถึงความสําคัญและประโยชน์ด้านต่างๆ ทังร่างกาย  จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปญญาเป็นเหตุผลที่ทําให้คนที่มีความรู้จะมีความสัมพันธ ทางบวกกับ พฤติกรรมการออกกําลังกายของนักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ มากกว่าคนที่ไม่มีความรู้  ด้านการรับรู้ประโยชน์ของการออกกําลังกาย มีความสัมพันธ์ 
ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกําลังกาย ของนักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขต
ภาคใต้ ซึ่งมีความกล่าวของ ศิริรัตน์ หิรัญรัตน์  (2539: 3)  ได้สรุปประโยชน์ของการออกกําลังกายไว้  
5 ประการดังนี 
 1. ทางด้านร่างกาย  อวัยวะในระบบต่าง ๆ ของร่างกายสามารถทํางานประสานกันได้อย่าง 
มีประสิทธิภาพ  เป็นผลให้ร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง อดทน มีบุคลิกภาพที่ดี สามารถประกอบ 
กิจกรรมการงานประจําวันได้อย่าง กระฉับกระเฉง  มีภูมิต้านทานสูง  สมรรถภาพทางกายดี 
 2. ทางด้านจิตใจ  การออกกําลังกายสมํ่าเสมอนอกจากจะทําให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแล้วจิตใจร่าเริง  เบิกบานก็จะ 12เกิดควบคู่กันมาเนื่องจากร่างกายปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ  ถ้าได้ออกกําลังกายร่วมกันหลาย ๆ คน  ช่น  การเล่นกีฬาเป็นทีม  ทําให้เกิดความเอือเฟือ  มีเหตุผล  อดกลัน  สุขุม  รอบคอบ  และยุติธรรม 
 3. ทางด้านอารมณ์  มีอารมณ์เยือกเย็นไม่หุนหันพลันแล่น  ช่วยคลายความเครียดจากการ 
ประกอบอาชีพในชีวิตประจําวัน  เมื่ออารมณ์เยือกเย็นก็สามารถทํางานหรือออกกําลังกายได้อย่างดี 
 4. ทางด้านสติปญญา  การออกกําลังกายอย่างสมํ่าเสมอทําให้ความคิดอ่านปลอดโปร่ง  
มีไหวพริบ  มีความคิดสร้างสรรค์  ค้นหาวิธีเอาชนะคู่ต่อสู้ในวิถีทางในเกมการแข่งขัน   ซึ่งบางครัง 
สามารถนํามาใช้ในการดําเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง 
 5. ทางด้านสังคม  สามารถปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงานและผู้อื่นได้  เพราะการเล่นกีฬาหรือการ ออกกําลังกาย ร่วมกันเป็นหมู่มาก ๆ ทําให้เกิดความเข้าใจและเรียนรู้พฤติกรรม มีบุคลิกภาพที่ดี มีความเป็นผู้นํา มีมนุษยสัมพันธ์ ที่ดี และสามารถอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุข  และในเอกสารประกอบการเรียนวิชาการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต พล 101 (คณะพลศึกษา.  2541: 106-107) ซึ่งเป็นวิชา พืนฐานบังคับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ได้กําหนดให้นิสิตระดับปริญญาตรี ทุกคณะต้องเรียน ได้ระบุถึงประโยชน์ของการ ออกกําลังกาย 
ไว้ดังนี 
 1. การออกกําลังกายก่อให้เกิดประโยชน์ในทางการแพทย์ คือ การจัดชนิดความหนัก 
ความนานและ ความบ่อยของการออกกําลังกาย และจุดประสงค์ของแต่ละคน หากสามารถจัดได้ 
เหมาะสมจะให้คุณประโยชน์ ดังต่อไปนี การเจริญเติบโต  การออกกําลังกายเป็นปจจัยสําคัญ 
ที่่มีผลต่อกากรเจริญเติบโต  เด็กทีไม่ค่อยออก กําลังกายแต่มีอาหารกินสมบูรณ์  อาจมีส่วนสูงและ 
นําหนักตัวมากกว่าเด็กในวัยเดียวกันโดยเฉลี่ย แต่ส่วนใหญ่ จะมีไขมันเกิน  กระดูกเล็ก  หัวใจมี 
ขนาดเล็กเมื่อเทียบกับนําหนักตัวและรูปร่างอาจผิดปกติ  เช่น  เข่าชิดกัน  อ้วนแบบฉุ  เป็นต้น  
ถือว่าเป็นการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ  ตรงข้ามกับเด็กที่มีการออกกําลังกายถูกต้องเสมอ  ร่างกาย 
จะผลิตฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตอย่างถูกส่วน  จึงกระตุ้นให้อวัยวะต่าง ๆ เจริญขึนพร้อมกัน 
ทังขนาด รูปร่าง และหน้าที่การทํางาน  เมื่อประกอบกับผลของการออกกําลังกายที่ทําให้เจริญอาหาร  
การย่อย และการขับถ่ายที่ดี เด็กที่มีการออกกําลังกายอย่างถูกต้องและสมํ่าเสมอจึงมีการเจริญ 
เติบโตดีกว่าเด็กที่ขาด การออกกําลังกาย 
 2. รูปร่างและทรวดทรง  การออกกําลังกายเป็นได้ทังยาป้องกันและยารักษาโรค การเสีย 
ทรวดทรงในช่วงการเจริญเติบโตสามารถป้องกันได้ด้วยการออกกําลังกาย  แต่เมื่อเติบโตเต็มทีแล้ว 
ขาดการออกกําลังกาย จะทําให้ทรวดทรงเสียได้  เช่น  ตัวเอียง  หลังงอ  ทําให้บุคลิกภาพในระยะนี้  
การกลับมาออกกําลังกายอย่าง ถูกต้อง สมํ่าเสมอ ยังสามารถแก้ไขให้ทรวดทรงกลับดีขึนได้ แต่การ 
แก้ไขบางอย่างใช้เวลานานเป็นเดือน เป็นปี  แต่บางอย่างอาจเห็นผลภายในไม่ถึง 1 เดือน เช่น 
การมีพุงปอง  การบริหารกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้าม- เนือหน้าท้องเพียง 2 สัปดาห์ ทําให้ 
กล้ามเนือหน้าท้องมีความตึงตัวเพิ่มขึนจนกระชับอวัยวะภายในไว้ไม่ให้ดัน ออกมาเป็นพุงปองได้ 
 3. สุขภาพทั่วไป  การออกกําลังกายเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ  ถึงแม้จะไม่มีหลักฐานแน่ ชัดว่า การออก กําลังกายจะสามารถเพิ่มภูมิต้านทานต่อโรค ที่เกิดจากการ 1
ติดเชือได้  แต่พบบ่อยว่าเมื่อนักกีฬาเกิดการเจ็บปวย จากการติดเชือจะหายได้เร็วกว่า  และมีโรค 
แทรกซ้อนน้อยกว่า ข้อที่ทําให้เชื่อแน่ ได้ว่าผู้ที่ออกกําลังกายย่อมมี สุขภาพดีกว่าผู้ขาดการ 
ออกกําลังกาย คือการที่อวัยวะต่าง ๆ มีการพัฒนาทังขนาด  รูปร่าง  และหน้าที่การทํางาน 
 4. สมรรถภาพทางกาย  การออกกําลังกายถือเป็นยาบํารุงเพียงอย่างเดียวที่สามารถ 
เพิ่มสมรรถภาพทาง กายได้  เพราะไม่มียาใด ๆ ที่สามารถทําให้ร่างกายมีสมรรถภาพเพิ่มขึน 
ได้อย่างแท้จริงและถาวร  ในทางปฏิบัติ เราสามารถเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายทุก ๆ ด้าน เช่น  
ความแข็งแรงของกล้ามเนือ  ความอ่อนตัว ความอดทน ด้วยการออกกําลังกายที่ใช้สมรรถภาพ 
ทางกายด้านนัน ๆ 
 5. การป้องกันโรค  การออกกําลังกายสามารถป้องกันโรคร้ายหลายชนิด  โดยเฉพาะโรค 
ที่เกิดจากการ เสื่อมสภาพของอวัยวะอันเนื่องจากการมีอายุมากขึน  ประกอบกับปจจัยอื่น ๆ 
ในชีวิตประจําวัน เช่น การกิน  ความ เคร่งเครียด  สูบบุหรี่มาก หรือกรรมพันธุ์  โรคเหล่านี ได้แก่  
โรคประสาทเสียดุลยภาพ  เป็นต้น  ผู้ที่ออกกําลังกาย เป็นประจํามีโอกาสเกิดโรค เหล่านีช้ากว่า 
ผู้ที่ขาดการออกกําลังกายหรืออาจไม่เกิดขึนเลย 
 6. การรักษาโรค และฟืนฟูสภาพโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึนแล้ว การจัดการออกกําลังกายที่
เหมาะสม จัดเป็น วิธีรักษาและฟืนฟูสภาพที่สําคัญในปจจุบัน  แต่ในการออกกําลังกายที่หมาะสม 
มีปญหามาก  เพราะบางครังโรค กําเริบรุนแรงจนการออกกําลังกายแม้เพียงเบา ๆ ก็เป็นข้อห้าม  
กรณีดังกล่าวการควบคุมโดยใกล้ชิดจากแพทย์ ผู้ทําการรักษาและตรวจสอบ สภาพร่างกาย 
โดยละเอียดเป็นระยะเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งและยังสอดคล้องกับการกีฬาแห่งประเทศไทย (2544: 45) 

กล่าวถึงประโยชน์ของการออกกําลังกาย ทางการแพทย์ ดังต่อไปนี 
1. การเจริญเติบโต การออกกําลังกายจะช่วยให้เจริญอาหาร การย่อยและการขับถ่ายดี 
โดยเฉพาะใน วัยเด็ก ดังนันเด็กที่มีการออกกําลังกายอย่างสมํ่าเสมอจึงมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่าเด็ก 
ที่ขาดการออกกําลังกาย 
 2. รูปร่างทรวดทรง การออกกําลังกายสามารถป้องกันและรักษาการเสียทรวดทรง 
โดยการบริหารเพื่อเพิ่ม ความแข็งแรงของกล้ามเนือในส่วนที่ต้องการ และทําให้กล้ามเนือกระชับ 
 3. สุขภาพทั่วไปเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การออกกําลังกายทําให้อวัยวะต่าง ๆ 
มีการเจริญได้ดี ทังขนาด รูปร่าง และหน้าที่การงาน โอกาสการเกิดโรคที่ไม่ใช่โรคติดเชือมีน้อยกว่า 
สมรรถภาพทางกาย การออก-กําลังกายสามารถสร้างสมรรถภาพทางกายได้ในทุก ๆ ด้าน 
 4. การป้องกันโรค  การออกกําลังกายสามารถป้องกันโรคร้ายได้หลายชนิด  โดยเฉพาะโรคที่
เกิดจาก การเสื่อมสภาพของอวัยวะ  อันเนื่องมาจากการมีอายุมากขึน  ประกอบกับปจจัยอื่น ๆ 
ในชีวิตประจําวัน  เช่น  ความเครียด  การรับประทานอาหารเกินความต้องการของร่างกาย  
โรคเบาหวาน  โรคไขมันในเลือดสูง  เป็นต้น  ผู้ที่ออกกําลังกายเป็นประจํามีโอกาสเกิดโรคเหล่านี 
ได้ช้ากว่าผู้ที่ขาดการออกกําลังกาย  หรืออาจไม่เกิดขึนเลย ก็เป็นได้ 
 5. การรักษาและฟืนฟูสภาพโรคต่าง ๆ ที่กล่าวถึงในข้อ 4  หากเกิดขึนแล้ว การจัดการ 
ออกกําลังกาย ที่เหมาะสมจะช่วยรักษาและฟืนฟูสภาพได้จากการทราบถึงการรับรู้ ประโยชน์ของ  14
การออกกําลังกายมีความ สัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกําลังกายของนักศึกษาปริญญาตรี 
สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ ด้านการรับรู้อุปสรรคของการออกกําลังกาย               
ด้านการรับรู้ภาวะสุขภาพ ด้านการรับรู้ความสามารถแห่งตน  ด้านแรงสนับสนุนทางสังคม                 
ด้านการได้รับข้อมูลข่าวสาร ด้านปจจัยส่วนบุคคล  ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจ  และความรู้สึก 
เฉพาะต่อพฤติกรรมมีความสามารถร่วมกันทํานาย พฤติกรรม การออกกําลังกายของนักศึกษา    
ปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้  ซึ่งสอดคล้องกับ คํารณ  ธนาธร  (2537: 
บทคัดย่อ) ได้ศึกษา เรื่อง ปจจัยที่สัมพันธ์ต่อการออกกําลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความ สัมพันธ์ ระหว่างปจจัยหลัก ปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยเสริม 
กับการออกกําลังกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ปีการศึกษา  2536  
จํานวน  667  คน  ผลการวิจัยพบว่า ปจจัยหลักด้านการรับรู้ในเรื่อง การออกกําลังกาย โดยรวม 
จัดอยู่ในระดับสูง  โดยพบว่า การรับรู้ถึงโอกาสเสี%ยงต่อการเจ็บปวย จากการขาดการ ออกกําลังกาย  
การรับรู้ถึงความรุนแรงของการเจ็บปวยจากการขาดการ ออกกําลัง กายและการรับรู้ประโยชน์ 
ของการออกกําลังกาย  การรับรู้ทัง 3 ด้านนี จัดอยู่ในระดับสูง  ส่วนการรับรู้ถึงอุปสรรคของการ 
ออกกําลังกายจัด อยู่ในระดับปานกลาง 

ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย 
 1. การวิจัยครังนีพบว่า นักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ มี
พฤติกรรมการออกกําลังกายอยู่ในระดับดี แต่ก็พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ยังออกกําลังกายไม่สมํ%าเสมอ 
ดังนันจึงควรมีการรณรงค์ให้นักศึกษาออกกําลังกายอย่างต่อเนื% อง และจัดกิจกรรมส่งเสริมการออก
กําลังกายให้แก่นักศึกษาได้ออกกําลังกายอย่างสมํ่าเสมอ 
  2. การศึกษายังพบอีกว่า ความรู้เกี่ยวกับการออกกําลังกาย  การรับรู้ประโยชน์             
ของการออกกําลังกาย  การรับรู้ภาวะสุขภาพ  การรับรู้ความสามารถแห่งตน  แรงสนับสนุนทาง
สังคมการได้รับข้อมูลข่าวสาร และการรับรู้อุปสรรคของการออกกําลังกาย มีความสัมพันธ์กับ
พฤติกรรมการออกกําลังกายของนักศึกษา ดังนันการส่งเสริมการออกกําลังกายจึงควรคํานึงถึงปจจัย ั
ที่เกี่ยวข้องต่างๆ เหล่านีด้วย 
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 
 1. ควรศึกษาพฤติกรรมการออกกําลังกายของนักศึกษาปริญญาตรี สถาบันการพลศึกษา       
ทั่วประเทศ ทัง 17 แห่ง 
 2. ควรมีการศึกษาความต้องการการออกกําลังกายของนักศึกษาปริญญาตรี 
สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการออกกําลังกาย
ของนักศึกษา 

บรรณานุกรม 
การกีฬาแห่งประเทศไทย.  (2544).  แผนพัฒนากีฬาแห่งชาติ  ฉบับทีK 3  (2545 - 2549).    15
 กรุงเทพฯ: ไทยมิตรการพิมพ์. 
 คณะพลศึกษา.  (2541).  เอกสารประกอบการเรียนวิชาการสร้างเสริมคุณภาพชีวิต พล 101.   
 พิมพ์ครังที่2.   
 กรุงเทพฯ: คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.คํารณ  ธนาธร.  (2537).  ปัจจัยทีKสัมพันธ์ 
 ต่อการออกกําลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่.   
 วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (การส่งเสริมสุขภาพ).  เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.  ถ่าย 
 เอกสาร. 
ชาตรี  ประชาพิพัฒน์; และ นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร.  (2545).  แนวทางการส่งเสริมการออกกําลัง 
 กายเพื่อสุขภาพ.  มหาวิทยาลัยบูรพา: วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การกีฬา. 
ถนอมวงศ์  กฤษณ์เพ็ชร์.  (2544, มกราคม-ธันวาคม).  พฤติกรรมการออกกําลังกาย เล่นกีฬา  
 และดูกีฬา ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร.  วารสารสุขศึกษา พลศึกษา  และสันทนา การ.  27: 25 - 33. 
วุฒิพงษ์  ปรมัตถาวร.  (2537).  การออกกําลังกาย.  กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พรินติง เฮาส์. 
ศิริรัตน์  หิรัญรัตน์.  (2539).  สมรรถภาพทางกายและทางกีฬา.  กรุงเทพฯ: ภาควิชาศัลยศาสตร์  
 ออร์โธปิดิกส์  และกายภาพบําบัด คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล. 
Pender, N.J.  (1996).  Health Promotion in Nursing Practice.  3 
rd ed.  Norwalk Connecticut: Appleton & Lange. 

6 ความคิดเห็น:

  1. อยากรู้เทคนิค และวิธีการเล่นกล้ามเชิญทางนี้ครับ
    http://with-muscle.blogspot.com/
    **ฝาก Blog ด้วยนะครับ ขอบคุณมากๆครับ**

    ตอบลบ
  2. ขออ้างอิงงานวิจัยหน่อยได้ไม๊คะ พอดีจะใช้เป็นตัวอ้างอิงในการทำรายงานค่ะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  3. ขอตัวอย่างแบบสอบถามหน่อยได้ไหมค๊ะ

    ตอบลบ
  4. ขอ copy หน่อยนะครับ ขอบคุณครับ เราชาว สพล ด้วยกัน

    ตอบลบ
  5. ขออนุญาติ นำมาเป็น อ้างอิงนะครับ ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  6. Casinos Near Me - DrmCD
    Find 제천 출장샵 your nearest casinos near you from more than 7000 of the best casinos around, from 광주광역 출장안마 penny slots, to 인천광역 출장안마 penny slots, to video poker machines, ‎New Casinos · ‎Slots 고양 출장샵 · ‎Mardi 군포 출장샵 Gras · ‎New Orleans Casino · ‎Casino

    ตอบลบ